Get Adobe Flash player

 

นายธิติพัชร์ มาลา
ผู้อำนวยการโรงเรียนภูเรือวิทยา

.....งานสนับสนุน.....

...เผยแพร่ผลงาน...

....สถิติผู้เข้าชม.....

523420
วันนี้
เมื่อวานนี้
สัปดาห์นี้
สัปดาห์ที่แล้ว
เดือนนี้
เดือนที่ผ่านมา
เยี่ยมชมทั้งสิ้น
41
431
741
521010
4600
5263
523420
Your IP: 44.197.251.102
Server Time: 2024-03-19 02:51:55

หลักเกณฑ์การให้กู้ยืมเงินของกองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา

ตาม “ประกาศคณะกรรมการกองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา”

เรื่อง “หลักเกณฑ์เกี่ยวกับผู้ขาดแคลนทุนทรัพย์และคุณสมบัติของผู้กู้ยืมเงิน พ.ศ.๒๕๔๔” นักเรียน/นักศึกษาผู้มีสิทธิขอกู้ยืมเงินจากกองทุนฯ ผู้กู้

รายใหม่ และรายเก่า (ต่อเนื่อง) นอกจากเป็นผู้มี “สัญชาติไทย” จะต้องอยู่ในหลักเกณฑ์และต้องมีคุณสมบัติต่อไปนี้

          ๑.เป็นผู้ขาดแคลนทุนทรัพย์ หมายความว่า มีรายได้ครอบครัวไม่เกิน ๑๕๐,๐๐๐ บาทต่อปี

(ยกเว้น ผู้ขอกู้ยืมรายเก่าตั้งแต่ปีการศึกษา …….. ย้อนหลังไปจะต้องมีรายได้ต่อครอบครัวไม่เกิน ๓๐๐,๐๐๐บาทต่อปี ) รายได้ต่อครอบครัว ดังกล่าวพิจารณาตามหลักเกณฑ์ข้อใดข้อหนึ่งดังต่อไปนี้

          (๑) รายได้รวมของนักเรียน/นักศึกษา ผู้ขอกู้ยืม รวมรายได้ของบิดาและมารดา ในกรณีที่บิดามารดาเป็นผู้ใช้อำนาจปกครอง

          (๒) รายได้รวมของนักเรียน/นักศึกษา ผู้ขอกู้ยืม รวมกับรายได้ของผู้ปกครอง ในกรณีที่ผู้ใช้อำนาจปกครองมิใช่บิดามารดา

          (๓) รายได้รวมของนักเรียน/นักศึกษา ผู้ขอกู้ยืม รวมรายได้ของคู่สมรสในกรณีที่ผู้ขอกู้ยืมได้ทำการสมรสแล้ว

          ๒.เป็นผู้มีผลการเรียนดีหรือผ่านเกณฑ์การวัดและประเมินผลของสถานศึกษา

          ๓.เป็นผู้มีความประพฤติดี ไม่ฝ่าฝืนระเบียบข้อบังคับของสถานศึกษาขั้นร้ายแรง หรือไม่เป็นผู้มีความประพฤติเสื่อมเสียเช่น หมกมุ่นในการพนัน เสพยาเสพติดให้โทษ ดื่มสุราเป็นอาจิณ หรือเที่ยวเตร่ในสถานบันเทิงเริงรมย์เป็นอาจิณ เป็นต้น

          ๔.เป็นผู้มีคุณสมบัติครบถ้วนตามระเบียบหรือประกาศการสอบเลือกบุคคลเข้าศึกษาในโรงเรียนหรือสถานศึกษาที่อยู่ในสังกัดการควบคุมหรือกำกับดูแลของกระทรวงศึกษาธิการกระทรวงหรือส่วนราชการอื่น ๆ ทบวงมหาวิทยาลัย รัฐวิสาหกิจ

          ๕.ไม่เคยเป็นผู้สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรีในสาขาใด ๆ มาก่อน

          ๖.ไม่เป็นผู้ที่ทำงานประจำในระหว่างการศึกษา

          ๗.ไม่เป็นบุคคลล้มละลาย

          ๘.ไม่เป็นหรือเคยเป็นผู้ได้รับโทษจำคุก เว้นแต่เป็นโทษสำหรับความผิดที่ได้กระทำโดยประมาทหรือความผิดลหุโทษ

          สำหรับผู้กู้รายเก่าที่พ้นสภาพจากสถานศึกษาหนึ่งเนื่องจากผลการเรียนเมื่อสมัครเข้าเรียนในสถานศึกษาเดิมหรือสถานศึกษาใหม่ให้สถานศึกษาที่จะรับเข้าใหม่มีอำนาจในการวินิจฉัยว่าจะกู้ยืมได้หรือไม่และพิจารณาเป็นรายๆ โดยใช้หลักเกณฑ์เดียวกับผู้กู้รายใหม่แต่ใช้วงเงินต่อเนื่อง

          คุณสมบัติของผู้รับรองรายได้ ครอบครัวผู้ขอกู้ยืม มีดังต่อไปนี้

          ๑.เป็นข้าราชการผู้ดำรงตำแหน่งไม่ต่ำกว่าระดับ ๕ หรือเทียบเท่า หรือ

          ๒.หัวหน้าสถานศึกษาที่ผู้ขอกู้ยืมอยู่หรือ

          ๓.ผู้ปกครองท้องถิ่นระดับผู้ใหญ่บ้านขึ้นไป

เอกสาร/หลักฐานที่ใช้ประกอบการพิจารณากู้ยืมเงิน

สำเนาเอกสารต่อไปนี้

          ๑. เอกสารของผู้ยื่นกู้ สำเนาทะเบียนบ้าน สำเนาบัตรประชาชน

          ๒. เอกสารของบิดา มารดาหรือผู้ปกครอง

-      สำเนาทะเบียนบ้าน

-      สำเนาบัตรประจำตัวประชาชน

-      สำเนาบัตรผู้เสียภาษี(ถ้ามี)

๓. เอกสารของผู้รับรองรายได้ กรณีไม่มีหนังสือรับรองเงินเดือนหรือสลิปเงินเดือน

-      สำเนาทะเบียนบ้าน

-      สำเนาบัตรประจำตัวประชาชน หรือสำเนาบัตรข้าราชการ

. หนังสือรับรองเงินเดือนของบิดามารดาหรือผู้ปกครองหรือ

. หรือหนังสือรับรองรายได้และฐานะของบิดามารดาหรือของผู้ปกครอง

. หนังสือแสดงความคิดเห็นของอาจารย์แนะแนวหรืออาจารย์ที่ปรึกษา

.แผนผังแสดงที่ตั้งของที่อยู่อาศัยของบิดามารดาหรือผู้ปกครอง

.ใบแสดงผลการศึกษาในปีการศึกษาที่ผ่านมา

. ในกรณีที่ผู้ค้ำประกันมิใช่บิดามารดาหรือผู้ปกครองต้องแนบเอกสารของผู้ค้ำประกันดังนี้

-      สำเนาทะเบียนบ้าน

-      สำเนาบัตรประจำตัวประชาชน

-      สำเนาบัตรผู้เสียภาษี(ถ้ามี)

๑๐. สำเนาเอกสารทุกฉบับต้องลงลายมือชื่อรับรองสำเนาถูกต้อง

๑๑. เอกสารอื่นๆ ซึ่งสถานศึกษาพิจารณาเพิ่มเติม

หมายเหตุ หากมีหลักฐานตามข้อ ๔ แล้วไม่ต้องมีหลักฐานตามข้อ ๕ และหากหลักฐานไม่ครบถ้วนจะมีผลให้การพิจารณาอนุมัติกู้ยืมล่าช้า

หลักฐานประกอบการเปิดบัญชีเงินฝากออมทรัพย์

๑.       หนังสือแจ้งผลการอนุมัติให้กู้ยืมจากกองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา

๒.      บัตรประจำตัวประชาชนหรือสำเนาทะเบียนบ้านและบัตรนักเรียน

 เอกสารประกอบสัญญากู้ยืม

๑.     สัญญากู้ จำนวน ๒ ฉบับ

-      ฉบับที่ ๑ สำหรับธนาคาร

-      ฉบับที่ ๒ สำหรับผู้กู้

-      ฉบับที่ ๓ ( ถ่ายสำเนาจากฉบับที่ ๒) สำหรับผู้ค้ำประกัน

.สำเนาสมุดผู้ฝาก

.สำเนาทะเบียนบ้านของผู้กู้และผู้ค้ำประกัน

.สำเนาบัตรประจำตัวประชาชนของผู้กู้และผู้ค้ำประกัน

.สำเนาบัตรประจำตัวผู้เสียภาษีอากรของผู้ค้ำประกัน(ถ้ามี)

วงเงินให้กู้ยืม (ขอบเขต) ของระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย หรือเทียบเท่า          
                            กู้ได้ไม่เกิน     ๑๓,๒๐๐    บาทต่อปี

ทั้งนี้ จะพิจารณาจากค่าใช้จ่ายจริงในการศึกษารวมถึงค่าครองชีพโดยให้อยู่ในดุลยพินิจของคณะกรรมการพิจารณาให้กู้ยืมประจำศึกษานั้น ๆ

หมายเหตุ หลักเกณฑ์ คุณสมบัติ และขอบเขตจะประกาศให้ทราบทุก ๆ ปี โดยคณะกรรมการกองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา

การค้ำประกัน ในสัญญากู้ยืมเงินให้มีหลักเกณฑ์การค้ำประกันสัญญากู้ยืมเงิน ดังนี้

          ๑.บิดา มารดา หรือผู้ใช้อำนาจปกครองเป็นผู้ค้ำประกัน

          ๒.บุคคลที่ประกอบอาชีพมีรายได้น่าเชื่อถือถือตามที่คณะกรรมการพิจารณาให้กู้ยืมประจำสถานศึกษากำหนดให้เป็นผู้ค้ำประกันได้

          ๓.กรณีไม่มีผู้ค้ำประกัน ให้ผู้ยืมใช้หลักทรัพย์แทน

          ๔.ผู้ค้ำประกันต้องมีอายุไม่ต่ำกว่า ๒๐ ปีบริบูรณ์

แนวปฏิบัติเรื่องการค้ำประกัน

          ๑.กรณีนักเรียน/นักศึกษา ไม่มีบิดา มารดา ให้ผู้ใช้อำนาจปกครองเป็นผู้ให้การยินยอมในการทำนิติกรรมสัญญาและผู้ค้ำประกัน “ผู้ปกครอง”ได้แก่ ผู้ปกครองตามประกาศคณะปฏิวัติ ฉบับที่ ๑๓๒ กฎกระทรวงระเบียบที่ออกกฎหมายดังกล่าว รวมทั้งประกาศกระทรวงศึกษาธิการ เรื่อง   ผู้ปกครองนักเรียน/นักศึกษา   ซึ่งหมายถึงบุคคลซึ่งรับนักเรียน/นักศึกษาไว้ในความ

ปกครอง หรืออุปการะเลี้ยงดู หรือบุคคลที่นักเรียน/นักศึกษา อาศัยอยู่

          ๒.กรณีคู่สมรสของผู้ค้ำประกันไม่ยินยอมลงนามให้ความยินยอมค้ำประกัน ให้ผู้ค้ำประกัน ลงนามฝ่ายเดียวได้

          ๓.กรณีคู่สมรสของผู้ค้ำประกันมอบอำนาจให้ผู้ค้ำประกันลงลายมือชื่อฝ่ายเดียวให้

ดำเนินการเช่นเดียวกับข้อ ๒.

          ๔.กรณีผู้ค้ำประกันและคู่สมรสถูกจำคุกให้ลงนามเป็นผู้ค้ำประกันได้

          ๕.ผู้ค้ำประกันไม่สามารถเพิกถอนการค้ำประกันได้ ในระหว่างเวลาที่ผู้กู้ยืมต้องรับผิดชอบอยู่ตามเงื่อนไขในสัญญากู้ยืมเพื่อการศึกษา

          ๖.ในการกู้ยืมเงินแต่ละปีการศึกษา ผู้กู้อาจเปลี่ยนแปลงผู้ค้ำประกันใหม่ได้ โดยไม่จำเป็นต้องใช้ผู้ประกันคนเดิม

หน้าที่ของสถานศึกษา

          ๑.สถานศึกษามีหน้าที่รายงานผลการศึกษาของผู้กู้ที่กำลังศึกษาอยู่ให้ธนาคารทราบ(ตามแบบ กยศ.๑๑๐) ทุกสิ้นปีการศึกษา ( มาตรา ๕๑)

          ๒.ในกรณีที่ผู้กู้ยืมพ้นสภาพการเป็นนักเรียน/นักศึกษาไม่ว่าด้วยเหตุผลใด สถานศึกษาต้องแจ้งธนาคารทราบ (ตามแบบ กยศ.๑๐๙) ภายใน ๑๕ วัน นับแต่วันที่พ้นสภาพ (มาตรา ๕๑)

หน้าที่ของผู้กู้ยืม

          ๑.ผู้กู้ต้องแจ้งการเปลี่ยนแปลงที่อยู่ หรือสถานศึกษาให้ธนาคารทราบ   ( ตามแบบ

กยศ. ๑๐๙) ภายใน ๑๕ วัน นับแต่วันที่พ้นสภาพ (มาตรา ๕๑)

          ๒.เมื่อผู้กู้สำเร็จการศึกษา และเข้าทำงานในสถานที่ใดต้องแจ้งที่อยู่และสถานที่ทำงาน พร้อมเงินเดือนหรือค่าจ้างให้ธนาคารทราบภายใน ๓๐ วัน นับตั้งแต่วันที่เริ่มทำงาน (มาตรา๕๓) ในกรณีที่ผู้กู้ยืมที่จบการศึกษานี้ย้ายที่อยู่หรือเปลี่ยนแปลงงาน หรือสถานที่ทำงาน หรือเปลี่ยนแปลงเงินเดือน หรือค่าจ้าง ให้ธนาคารทราบภายใน ๓๐ วัน (มาตรา๕๓)

          ๓.ผู้กู้ยืมที่ไม่ได้กู้ต่อเนื่องหรือไม่ได้รับการอนุมัติให้กู้ในปีถัดไปจะต้องแจ้งสถานสภาพการศึกษาให้ธนาคารทราบทุกปี ( ตามแบบ กยศ.๒๐๕)


โรงเรียนภูเรือวิทยา  อ.ภูเรือ  จ.เลย 42160  Tel & Fax. 042-899432